อนุสิทธิบัตร 24704

กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในน้ำมะพร้าวแบบรวดเร็วและความจำเพาะสูง

  • ชื่อผู้ประดิษฐ์   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีราวุฒิ ภู่สันติสัมพันธ์, น.ส.ณัฐรดา ทวีสาร, น.ส.ชฎาพร วิลาจันทร์
  • หน่วยงาน   คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • เบอร์โทรภายใน   4301
  • Email   theerawut.p@sci.kmutnb.ac.th

รายละเอียดผลงาน

การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนากรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในน้ำมะพร้าวแบบรวดเร็วและความจำเพาะสูง โดยมีขั้นตอนคือ เตรียมดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli) ที่แยกได้จากการน้ำมะพร้าวที่มีการปนเปื้อน ทำการออกแบบไพรเมอร์ (primers) ที่จำเพาะกับยีนเอซีดี จำนวน 4 เส้น ได้แก่ ไพรเมอร์ซีเอฟ (CF) ไพรเมอร์ซีบี (CB) ไพรเมอร์ซีเอฟไอพี (CFIP) และไพรเมอร์ซีบีไอพี (CBIP) โดยมีส่วนผสมของปฏิกิริยาในหลอดทดสอบประกอบด้วยดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) ไพรเมอร์ซีเอฟ (CF) ไพรเมอร์เอ็นเอสซีบี (CB) ไพรเมอร์เอ็นซีเอฟไอพี (CFIP) ไพรเมอร์ซีบีไอพี (CBIP) ดีเอ็นทีพี (dNTP) สารละลายบัพเฟอร์บีเอสที (Bst buffer) เอนไซม์บีเอสทีพอลิเมอเรส (Bst polymerase) บีเทนน์ (Betaine) เคลซีน (Calcein) และปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ โดยใช้สภาวะในการทำปฏิกิริยาดังนี้ บ่มที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที แล้วตามด้วยการบ่มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เพื่อหยุดปฏิกิริยาในหลอดทดสอบ จะได้สารละลายผลิตภัณฑ์แลมป์ โดยกรรมวิธีตามการประดิษฐ์นี้สามารถใช้เวลาในการตรวจสอบเร็วขึ้น มีความจำเพาะมากขึ้นที่จำเพาะกับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) และมีความแม่นยำสูง อีกทั้งยังไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงหรือห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง และยังสามารถแปลผลได้ง่ายได้ด้วยการเกิดสีของปฏิกิริยาแลมป์ (LAMP) ซึ่งจะช่วยให้ตรวจสอบเชื้อชนิดนี้ในน้ำมะพร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำไปสู่การช่วยพัฒนาตลาดส่งออกของน้ำมะพร้าวในประเทศไทยอีกด้วย