สิทธิบัตรการประดิษฐ์

กระบวนการดูดซับแบบสลับความดันแบบสองขั้นตอนแบบลดก๊าซปล่อยทิ้งสำหรับการผลิตออกซิเจนเข้มข้นจากอากาศ

  • ชื่อผู้ประดิษฐ์   รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ ทองผดุงโรจน์, ศาสตราจารย์ ดร.จันทรพร ผลากรกุล
  • หน่วยงาน   คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • เบอร์โทรภายใน   8208, 8232
  • Email   pensiri.t@eng.kmutnb.ac.th, chantaraporn.p@eng.kmutnb.ac.th

รายละเอียดผลงาน

กระบวนการดูดซับแบบสลับความดันแบบสองขั้นตอนแบบลดก๊าซปล่อยทิ้งสำหรับการผลิตออกซิเจนเข้มข้นจากอากาศ ประกอบด้วยหน่วยดูดซับที่หนึ่งสำหรับการแยกก๊าซไนโตรเจนออกจากอากาศป้อนเข้า และหน่วยดูดซับที่สองสำหรับการแยกก๊าซอาร์กอนออกจากก๊าซผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหน่วยดูดซับที่หนึ่ง หน่วยดูดซับที่หนึ่งประกอบด้วย หอดูดซับหนึ่งและหอดูดซับสอง แต่ละหอบรรจุวัสดุดูดซับที่สามารถดูดซับก๊าซไนโตรเจนได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจน หอดูดซับหนึ่งและหอดูดซับสองเชื่อมต่อกันด้วยลายน์ท่อก๊าซ จำนวนหกลายน์ วาล์วโซลีนอยด์จำนวนสิบวาล์ว ท่อนำอากาศป้อนเข้า ท่อนำก๊าซปล่อยทิ้ง ท่อนำก๊าซผลิตภัณฑ์ขาออก และท่อก๊าซชะล้าง ซึ่งนำก๊าซปล่อยทิ้งจากหน่วยดูดซับที่สองมาใช้ในการทำความสะอาดวัสดุดูดซับในหน่วยดูดซับที่หนึ่ง ขั้นตอนการทำงานของหน่วยดูดซับที่หนึ่งแบ่งออกเป็นหกขั้นตอนในหนึ่งวัฏจักร โดยที่หอดูดซับหนึ่งและหอดูดซับสองในหน่วยดูดซับที่หนึ่งมีขั้นตอนทำงานที่สัมพันธ์กันผ่านการเปิดและปิดวาล์ว หน่วยดูดซับที่สองประกอบด้วย หอดูดซับสามและหอดูดซับสี่ แต่ละหอบรรจุวัสดุดูดซับที่สามารถคัดแยกอาร์กอนออกจากโมเลกุลออกซิเจน หอดูดซับสามและหอดูดซับสี่เชื่อมต่อกันด้วยลายน์ท่อก๊าซจำนวนห้าลายน์ด้วยกัน วาล์วโซลีนอยด์จำนวนแปดวาล์ว ท่อนำก๊าซป้อนเข้า เช็ควาล์วจำนวนสี่วาล์ว ท่อนำก๊าซผลิตภัณฑ์ ท่อก๊าซชะล้างที่นำก๊าซปล่อยทิ้งจากหน่วยดูดซับที่สองมาใช้ในขั้นตอนการทำความสะอาดวัสดุดูดซับในหน่วยดูดซับที่หนึ่ง ขั้นตอนการทำงานหน่วยดูดซับที่สองแบ่งออกเป็นแปดขั้นตอนในหนึ่งวัฏจักรโดยที่หอดูดซับสามและหอดูดซับสี่ในหน่วยดูดซับที่สองมีขั้นตอนทำงานที่สัมพันธ์กันผ่านการเปิดและปิดวาล์ว           การประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ก๊าซออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูงกว่าการผลิตออกซิเจนด้วยกระบวนการดูดซับแบบสลับความดันแบบขั้นตอนเดียว มีลักษณะเด่นคือสามารถลดก๊าซปล่อยทิ้ง โดยนำก๊าซปล่อยทิ้งในขั้นตอนที่สองกลับมาใช้ในขั้นตอนการชะล้างสารดูดซับในขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบและลดก๊าซปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศ

Image Description