การควบคุมการเกิดของเสียประเภทยางผสมโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์
- ชื่อผู้ประดิษฐ์ ศาสตราจารย์ ดร.อรรถกร เก่งพล, นายจิรวรรธก์ พึ่งเกษม
- หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์
- เบอร์โทรภายใน 8124
- Email athakorn.k@eng.kmutnb.ac.th
รายละเอียดผลงาน
ผลงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมปริมาณการเกิดของเสียในขั้นตอนการผลิตวัสดุเพื่อสำหรับขึ้นรูปยางรถยนต์
ซึ่งขั้นตอนการผลิตดังกล่าวอยู่ในส่วนผลิตยางผสม กรณีศึกษา
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เนื่องจากช่วงปี พ.ศ. 2558
การแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมยางรถยนต์มีปริมาณสูง
ทำให้ต้องมีการปรับตัวทางด้านการลดต้นทุนในกระบวนการผลิต
หลังจากมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัญหาจากแผนกต่างๆ ภายในโรงงานกรณีศึกษา
มีสาเหตุหนึ่งภายในแผนกผสมยางซึ่งมีปริมาณการเกิดของเสียขึ้นจำนวนมาก
โดยแต่ละสาเหตุ คือ ยางผสมมีคุณสมบัติต่ำมากกว่ามาตรฐานที่กำหนด 43.1%
ยางผสมหมดอายุ 18.5% ใช้เวลาในการผสมนานทำให้ยางผสมไหม้ 17.3%
ยางผสมมีความผิดปกติจากใช้งาน 7.8% และสาเหตุอื่นๆ 13.3% จากปริมาณที่ผลิตทั้งสิ้น
3,630,000 กิโลกรัมต่อเดือน จากการสืบค้นสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมา
กรณียางผสมหมดอายุถือได้ว่าเป็นกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าสาเหตุอื่น
จากข้อมูลเดือนพฤษภาคมในปีดังกล่าว
ยางผสมเสียจากสาเหตุยางผสมหมดอายุมีปริมาณทั้งสิ้น 6,648 กิโลกรัม หรือ 531,840 บาท เมื่อเทียบกับปริมาณยางที่ผลิตทั้งสิ้น 3,431,478 กิโลกรัม มีของเสียประเภทนี้ 6,648 กิโลกรัม หรือ 1 : 516
จึงได้ทำการศึกษาเพื่อประยุกต์การบริหารจัดการสารสนเทศ เพื่อควบคุมการเกิดของเสียประเภทยางผสม
โดยใช้โปรแกรม MS-Visual Studio และฐานข้อมูล Oracle
ผลจากการศึกษาและทดลองใช้งานกับหน้างานจริงเป็นเวลา
1 เดือนพบว่า อัตราการเกิดของเสียประเภทยางผสมหมดอายุมีอัตราการเกิดยางผสมหมดอายุ 1
กิโลกรัมต่อยางดี 4,907 กิโลกรัม
คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดได้ประมาณ 363,600 บาท ไม่เพียงแต่ประโยชน์ทางตรงที่ช่วยในการควบคุมปริมาณของเสียแล้ว
โปรแกรมดังกล่าวยังสามารถช่วยเหลือในการตัดสินใจของกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการข้อมูลที่เชื่อมโยงกันได้ในแต่ละด้านอีกด้วย