ระบบสื่อสาร 2 ทาง สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน
- ชื่อผู้ประดิษฐ์ นายธนพงศ์ เสนาชัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์
- หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์
- เบอร์โทรภายใน 8620
- Email nuttawut.t@eng.kmutnb.ac.th
รายละเอียดผลงาน
การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำให้คนสองคนสามารถเข้าใจความคิดของอีกฝ่ายได้
เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดสารจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจ แต่สำหรับผู้พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิดการสื่อสารไม่เป็นเรื่องง่ายแบบนั้นเพราะผู้พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิดไม่สามารถอ่านหนังสือออกทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ภาษาได้ จึงต้องใช้ลักษณะท่าทางของร่างกายหรือที่เรียกว่า "ภาษามือ" ในการสื่อสารเท่านั้น
แต่คนที่ไม่มีความผิดปกติทางการได้ยินส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ด้านภาษามือเหล่านั้นทำให้การสื่อสารระหว่างคนที่ไม่มีความผิดปกติกับผู้พิการทางการได้ยินเป็นไปอย่างยากลำบาก
จากปัญหาดังกล่าว จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะสร้างสรรค์ระบบสื่อสาร 2 ทาง สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน เพื่อทำให้การสื่อสารระหว่างคนที่ไม่มีความผิดปกติกับผู้พิการทางการได้ยินโดยตรง
สามารถใช้โต้ตอบกันไปมาได้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ผู้พิการทางการได้ยินสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างคนปกติ
โดยไม่มีปัญหากับการสื่อสาร
ระบบสื่อสาร 2 ทาง สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน
จะใช้งานร่วมกับเครื่อง Kinect โดยภายในของเครื่อง Kinect
ประกอบด้วย อุปกรณ์ฉายแสงอินฟาเรด (Infrared) กล้องวัดความลึกของภาพ
(Depth Camera) กล้องวีดีโอ (Video Camera) ไมโครโฟน และเซนเซอร์ (Sensor) Kinect จะเชื่อมต่ออยู่กับ
Single Board Computer และ Single Board Computer จะแสดงข้อมูลผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานของระบบสื่อสาร 2 ทาง สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
คือ
1. ระยะทางไกล คือ เมื่อผู้พิการทางการได้ยินมีการสื่อสารโดยใช้ภาษามือ
เครื่อง Kinect มีการทำงานเริ่มจากการฉายแสงอินฟาเรดออกจากตัวเครื่อง และจะทำการวิเคราะห์ภาษามือโดยการเขียนโปรแกรมหาตำแหน่งของมือ นิ้วมือ และสีหน้า ข้อมูลจะถูกส่งไปประมวลผลที่ Single Board Computer ที่เก็บฐานข้อมูลภาษามือไว้
และใช้วิธีการหาความคล้ายคลึงของสัญญาณ(correlation)
จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งต่อไปให้โปรแกรมวิเคราะห์ภาษามือ
และแปลออกมาเป็นคำและนำแต่ล่ะคำมาเรียบเรียงเป็นประโยค ในทางกลับกันคนที่ไม่มีความผิดปกติก็สามารถที่จะสื่อสารโต้ตอบกับผู้พิการทางการได้ยิน
โดยใช้แอพพลิเคชั่นพิมพ์ผ่านตัวอักษร จากนั้นโปรแกรมจะแยกคำและวิเคราะห์แปลคำออกมาเป็นไฟล์วิดีโอภาษามือ
โดยระบบแอนดรอยด์ก็จะเชื่อมต่อข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ แสดงผลออกมาบนหน้าจอของอุปกรณ์
2. ระยะทางใกล้ คือ คนที่ไม่มีความปกติสามารถพิมพ์ข้อความที่แป้นพิมพ์เพื่อสื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยินโดยตรง
จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งต่อไปให้โปรแกรมวิเคราะห์ภาษามือ
และแปลออกมาเป็นคำและนำแต่ล่ะคำมาเรียบเรียงเป็นประโยค เหล่านี้จะถูกส่งไปประมวลผลที่
Single Board Computer
ที่เก็บฐานข้อมูลภาษามือไว้แปลคำออกมาเป็นไฟล์วิดีโอภาษามือ แสดงผลออกมาบนหน้าจอ