กรรมวิธีการกำจัดแทนนินและสารประกอบฟีนอลิกจากน้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัดด้วยวิธีชีวภาพแบบไม่ใช้อากาศด้วยสารตกตะกอนอินทรีย์ร่วมกับอิเล็กโตรโคแอกกูเลชั่น อิเล็กโตรออกซิเดชั่น และการบำบัดน้ำขั้นสูง
- ชื่อผู้ประดิษฐ์ ศาสตราจารย์ ดร.จันทรพร ผลากรกุล, นายพีระวัฒน์ คงเกลี้ยง
- หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์
- เบอร์โทรภายใน 8232
- Email chantaraporn.p@eng.kmutnb.ac.th
รายละเอียดผลงาน
กรรมวิธีการกำจัดแทนนินและสารประกอบฟีนอลิกจากน้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัดด้วยวิธีชีวภาพแบบไม่ใช้อากาศด้วยสารตกตะกอนอินทรีย์ร่วมกับอิเล็กโตรโคแอกกูเลชั่น อิเล็กโตรออกซิเดชั่น และการบำบัดน้ำขั้นสูง โดยมีขั้นตอนดังนี้ กำจัดแทนนินด้วยการสร้างโปรตีนแทนนินคอมเพล็กซ์ตามอัตราส่วนที่เหมาะสมของโปรตีนและแทนนิน แล้วแยกสารโปรตีนแทนนินคอมเพล็กซ์ และนำของเหลวเหนือตะกอนหลังแยกสารโปรตีนแทนนินคอมเพล็กซ์เข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการอิเล็กโตรโคแอกกูเลชั่น (Electrocoagulation) จากนั้นนำของเหลวหลังแยกตะกอนเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการอิเล็กโตรออกซิเดชั่น (Electrooxidation) แล้วนำของเหลวหลังแยกตะกอนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตน้ำอ่อน (Water softener) ด้วยการแลกเปลี่ยนไอออนกับสารตัวกลางเรซิน และนำน้ำที่ผ่านการลดค่าความกระด้างแล้วถูกป้อนเข้าสู่การกรองผ่านเมมเบรนออสโมซิส ซึ่งการวางกระบวนการอิเล็กโตรออกซิเดชั่น (Electrocoxidation) ระหว่างอิเล็กโตรโคแอกกูเลชั่น (Electrocoagulation) และการบำบัดน้ำขั้นสูงด้วยเรซินแลกเปลี่ยนไอออนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแทนนิน สารประกอบฟีนอลิกและสามารถลดค่าสี ความกระด้าง แอมโมเนีย-ไนโตรเจน และของแข็งละลายน้ำได้