สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 80443

กรรมวิธีการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกเมล็ดทานตะวัน

  • ชื่อผู้ประดิษฐ์   ศาสตราจารย์ ดร.จันทรพร ผลากรกุล, นางสาวประพิณ ทัพกาญจนะ
  • หน่วยงาน   คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • เบอร์โทรภายใน   8232
  • Email   chantaraporn.p@eng.kmutnb.ac.th

รายละเอียดผลงาน

การผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกเมล็ดทานตะวันโดยวิธีการกระตุ้นทางเคมีด้วยสารละลายกรดฟอสฟอริก ประกอบด้วยขั้นตอนการบดเปลือกเมล็ดทานให้มีขนาดเล็กลง ตามด้วยแช่เปลือกเมล็ดทานตะวันในสารละลายกรดฟอสฟอริกเข้มข้นเพื่อให้เปลือกเมล็ดทานตะวันอิ่มตัวด้วยกรดฟอสฟอริก จากนั้นนำไปอบเปลือกเมล็ดทานตะวันที่อิ่มตัวให้แห้ง จึงนำไปเผากระตุ้นที่อุณหภูมิ 600-800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-3 ชั่วโมง ภายใต้บรรยากาศที่ปราศจากออกซิเจน ทิ้งไว้ให้เย็นภายใต้บรรยากาศที่ปราศจากออกซิเจน เมื่ออุณหภูมิของถ่านกัมมันต์ลดลงแล้วจึงล้างถ่านกัมมันต์เพื่อกำจัดสารเคมีตกค้าง และขั้นตอนสุดท้ายอบถ่านกัมมันต์ที่ล้างเรียบร้อยแล้วให้แห้งเปลือกเมล็ดทานตะวันที่นำมาผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ด้วยวิธีการที่ได้เปิดเผยนี้อาจถูกทำความสะอาดก่อนด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อน เช่น ล้างด้วยน้ำ ขนาดของเปลือกเมล็ดทานตะวันที่ผ่านการบดระหว่าง 0.5-1.4 มิลลิเมตร เป็นขนาดที่เหมาะสมกับวิธีการที่ได้เปิดเผยนี้ ความเข้มข้นของสารละลายกรดฟอสฟอริกที่ทำให้เปลือกเมล็ดทานตะวันอิ่มตัวเพียงพอสำหรับขั้นตอนเผากระตุ้นอยู่ระหว่าง 25-50 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนระหว่างเปลือกเมล็ดทานตะวันต่อสารละลายกรดที่เหมาะสมอยู่ที่ 1:2 โดยน้ำหนัก เมื่อใช้กรดฟอสฟอริกเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนการแช่เปลือกเมล็ดทานตะวันในสารละลายกรดฟอสฟอริกเข้มข้นสามารถทำได้ที่สภาวะปรกติ คืออุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศในขั้นตอนการเผากระตุ้นภายใต้บรรยากาศที่ปราศจากออกซิเจนสามารถทำได้โดยป้อนก๊าซไนโตรเจนหรือก๊าซเฉื่อยอื่นๆ เข้าสู่เตาเผาอย่างต่อเนื่อง ในขั้นตอนการล้างสามารถใช้น้ำ น้ำร้อน หรือสารละลายกรด ตามด้วยน้ำ เช่น ล้างถ่านกัมมันต์ที่ได้ด้วยสารละลายกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยล้างด้วยน้ำร้อนซ้ำจนกระทั่งน้ำที่ใช้ล้างมีสภาพเป็นกลาง