กรรมวิธีการผลิตสารเสริมรสที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากกากมะเขือเทศด้วยเอนไซม์ร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูง
- ชื่อผู้ประดิษฐ์ , น.ส.พชรพร พุธธังกูร
- หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- เบอร์โทรภายใน
- Email chanikans@kmutnb.ac.th
รายละเอียดผลงาน
กรรมวิธีการผลิตสารเสริมรสที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากกากมะเขือเทศด้วยเอนไซม์ร่วมกับคลื่นเสียง ความถี่สูง
มีขั้นตอนดังนี้ ทำการสกัดสารในผงกากมะเขือเทศแห้งด้วยเอนไซม์โบรมิเลน (bromelain)
ร่วมกับเทคนิคคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) หยุดปฏิกิริยาด้วยความร้อน กรอง และนำสารสกัดกากมะเขือเทศในรูปของสารละลายไปทำแห้งแบบเยือกแข็ง
(freeze
drying) จะได้ผลิตภัณฑ์ผงแห้งสารเสริมรสจากกากมะเขือเทศโดยใช้เอนไซม์โบรมิเลนร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูง
ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช
(DPPH) และอนุมูลอิสระเอบีทีเอส (ABTS) มีคะแนนการยอมรับด้านประสาทสัมผัสทางด้านรสชาติอร่อยสูง
พบสารสำคัญ ได้แก่ กรดกลูตามิก (glutamic
acid) สารนารินจิน (naringin) สารรูติน (rutin)
กรดแกลลิก (gallic acid) ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์
และสามารถต้านการอักเสบในเซลล์ได้ ผลิตภัณฑ์สารเสริมรสจากกากมะเขือเทศโดยใช้เอนไซม์โบรมิเลนร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูงจากกรรมวิธีนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เป็นสารเสริมรสเชิงสุขภาพ
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอาหารเพื่อเป็นเสริมรสชาติให้อร่อย
และมีคุณสมบัติในการเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ให้คุณประโยชน์แก่ผู้บริโภค